เนื่องจากไฟฟ้ามีอันตรายทั้งจากไฟฟ้าดูด (Electic shock), ไฟลวกจากความร้อนของประกายไฟ และการเกิดเพลิงไหม้ ดังนั้นส่วนที่มีไฟฟ้าของบริภัณฑ์*ที่มีแรงดันเกิน 50 V. ขึ้นไป (ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อบุคคล) จะต้องมีการกั้นเพื่อ ป้องกันการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยบังเอิญ การกั้นอาจใช้เครื่องห่อหุ้มหรือวิธีการใดวิธีการหนึ่งที่เหมาะสม
*หมายเหตุ บริภัณฑ์ (Equipment) หมายถึง เครื่องมือ เครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ
ระบบแรงต่ำ หมายถึง ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันระหว่างสายไม่เกิน 1,000 V การติดตั้งทางไฟฟ้าต้องมีการป้องกันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องไม่ให้สัมผัสกับส่วนที่มีไฟฟ้าที่เป็นอันตราย โดยการกั้น ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
อนุญาตให้เข้าได้เฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเท่านั้น โดยปกติจะมีการใส่กุญแจด้วย
เพื่อไม่ให้บุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปได้ เช่น ติดตั้งบนระเบียง หรือบนกันสาด
หรือพื้นที่ทำงานไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร ซึ่งถือเป็นระยะที่เอื้อมไม่ถึง เช่น การติดตั้งหม้อแปลงบนนั่งร้าน
ในที่ซึ่งมีการติดตั้ง สวิตซ์ หรือบริภัณฑ์อื่นในระบบแรงต่ำ ต้องมีการกั้นแยกออกจากระบบแรงสูงด้วยแผ่นกั้น รั้ว หรือตาข่ายที่เหมาะสม
การติดตั้งไฟฟ้าสำหรับระบบแรงต่ำ จะต้องอยู่ในบริเวณที่ที่มีการกั้นพื้นที่อย่างชัดเจน และการเข้าไปยังที่ว่างซึ่งอาจสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าได้นั้น จะทำได้เฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ช่องเปิดใด ๆ ของที่กั้นหรือที่ใช้ปิดบังต้องมีขนาด หรืออยู่ในตำแหน่งที่บุคคลอื่นไม่อาจสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าได้โดยบังเอิญ หรือไม่อาจนำวัตถุซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าไปสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้านั้นได้โดยบังเอิญ
ระบบแรงสูง หมายถึง ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันระหว่างสายเกิน 1,000 V ซึ่งมีวิธีป้องกันการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยบังเอิญ ดังนี้
ติดตั้งระบบไฟฟ้าในห้องที่ปิดล้อมหรือบริเวณที่ล้อมรอบด้วยกำแพง ผนัง หรือรั้ว โดยมีการปิดกั้นทางเข้าด้วยกุญแจ หรือวิธีการอื่นที่ได้รับการรับรองแล้วโดยผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ ถือว่าเป็นสถานที่เข้าได้เฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเท่านั้น วิธีนี้เป็นการป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องและชนิดของเครื่องห่อหุ้มต้องออกแบบและสร้างให้สอดคล้องกับประเภทและระดับของอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งด้วย
กรณีเป็นกำแพง ผนัง หรือรั้ว ต้องมีความตั้งแต่ 2.0 เมตร ขึ้นไป หรือถ้าสูงน้อยกว่า 20 เมตร จะต้องมีสิ่งอื่นเพิ่มเติม ที่ทำให้การกั้นนั้นมีคุณสมบัติในการกั้นเทียบเท่ากำแพง ผนัง หรือรั้วที่มีความสูงไม่น้อยกว่า 2.0 เมตร เช่น รั้วของลานหม้อแปลง
ในสถานที่ที่บุคคลทั่วไปเข้าถึงได้ การติดตั้งไฟฟ้าต้องเป็นไปตามแนวทาง ดังนี้
- เป็นบริภัณฑ์ที่อยู่ในเครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะ หรืออยู่ในห้อง หรือบริเวณที่ใส่กุญแจได้
- สวิตซ์เกียร์ที่อยู่ในเครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะ หน่วยสถานีย่อย (Unit Substation) หม้อแปลง กล่องดึงสาย กล่องต่อสาย และบริภัณฑ์อื่นที่คล้ายกัน ต้องทำป้ายหรือเครื่องหมายเตือนภัยที่เหมาะสม
- ช่องระบายอากาศของหม้อแปลงแบบแห้ง หรือช่องของบริภัณฑ์อื่นที่คล้ายกัน ต้องออกแบบให้วัตถุจากภายนอกที่อาจลอดเข้าไปให้เบี่ยงเบนพันไปจากส่วนที่มีไฟฟ้า
ในสถานที่ที่บุคคลทั่วไปเข้าถึงได้ การติดดั้งทางไฟฟ้าต้องอยู่ในเครื่องห่อหุ้ม หรือวิธีการอื่นที่ได้รับการรับรองแล้วว่าปลอดภัย
ในสถานที่ซึ่งบริภัณฑ์ไฟฟ้าอาจได้รับความเสียหายทางกายภาพได้ ต้องกั้นด้วยที่กั้นหรือเครื่องห่อหุ้มที่มีความแข็งแรง ที่จะป้องกันความเสียหายนั้นได้
ทางเข้าห้องหรือที่กั้นที่มีส่วนที่มีการติดตั้งระบบไฟฟ้าอยู่ภายในและเปิดโล่ง จะต้องมีเครื่องหมายเตือนภัยที่ชัดเจนและเห็นได้ง่าย เพื่อห้ามบุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไป
ส่วนของบริภัณฑ์ซึ่งในขณะใช้งานปกติทำให้เกิดอาร์ก ประกายไฟ เปลวไฟ หรือโลหะหลอมเหลว ต้องมีการหุ้มหรือปิดกั้น และแยกจากวัสดุที่ติดไฟได้
เครื่องปลดวงจรที่ใช้สำหรับมอเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สายเมน สายป้อน หรือวงจรย่อยทุกเครื่อง ต้องทำเครื่องหมายระบุวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ติดไว้ที่เครื่องปลดวงจรหรือใกล้กับเครื่องปลดวงจรนั้น นอกจากว่าตำแหน่งและการจัดเครื่องปลดวงจรนั้นชัดเจนอยู่แล้วเครื่องหมายต้องชัดเจนและทนต่อสภาพแวดล้อม
การติดตั้งไฟฟ้าต้องมีระยะห่างระหว่างตัวนำไฟฟ้าที่มีไฟกับอาคาร หรือสิ่งก่อสร้าง เพื่อความปลอดภัย ตามที่กำหนดในตารางที่ 1 และ ตารางที่ 2
การวัดระยะห่างทางไฟฟ้าให้วัดระยะในแนวตรงจากผิว (Surface) ของส่วนที่มีแรงดันไฟฟ้า (สายไฟ ตัวนำไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้า) ไปยังผิวของส่วนที่ไม่มีแรงดันไฟฟ้าหรือไปยังสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ที่สุด
สิ่งที่อยู่ใต้สายไฟฟ้า |
ระยะห่าง (ม.) |
|
ระบบแรงต่ำ |
ระบบแรงสูง |
|
ทางสัญจรและพื้นที่ที่จัดไว้ให้รถยนต์ผ่าน แต่ไม่ใช่รถบรรทุก |
2.90 |
4.60 |
ทางสัญจรและพื้นที่อื่น ๆ ที่ให้ทั้งรถยนต์และรถบรรทุกผ่านได้ |
5.50 |
6.10 |
คลองหรือแหล่งน้ำ กว้างไม่เกิน 50 ม. ปกติมีเรือสูงไม่เกิน 4.9 ม. ผ่าน |
6.80 |
7.70 |
คลองหรือแหล่งน้ำที่ไม่มีเรือแล่นผ่าน |
4.30 |
5.20 |
ตารางที่ 1 ความสูงของสายไฟฟ้าเหนือพื้น
หมายเหตุ
1. ระบบแรงต่ำ หมายถึงระบบที่มีแรงดันระหว่างสายไม่เกิน 1,000 V.
2. ระบบแรงสูง หมายถึงระบบที่มีแรงดันระหว่างสายเกิน 1,000 V. ในตารางนี้ใช้กับแรงดันไม่เกิน 33 KV.
ระยะห่างระหว่างสายไฟฟ้ากับอาคาร ตามชนิดของสายไฟฟ้า |
ระยะห่างต่ำสุด (ม.) |
||
เปลือย |
APC (PIC) |
ASC (SAC) |
|
กับผนังและส่วนของอาคารปิดหรือมีการกั้น |
1.50 |
0.60 |
0.30 |
กับหน้าต่าง เฉลียง ระเบียง หรือบริเวณที่คนเข้าถึงได้ |
1.80 |
1.50 |
0.90 |
อยู่เหนือหรือใต้หลังคา หรือส่วนของอาคารที่ไม่มีคน |
3.00 |
3.00 |
1.10 |
อยู่เหนือหรือใต้ระเบียง และหลังคาที่มีคน หรือเข้าถึงได้ |
4.60 |
4.60 |
3.50 |
เหนือหลังคา หรือสะพานลอยคนเดินข้ามถนน |
3.00 |
3.00 |
1.10 |
ตารางที่ 2 ระยะห่างของสายไฟฟ้าจากอาคารระบบแรงสูง (แรงดันไม่เกิน 33 KV)
หมายเหตุ
1. APC (PIC) หมายถึง สายหุ้มฉนวนแรงสูงไม่เต็มพิกัด
2. ASC (SAC) หมายถึง สายหุ้มฉนวนแรงสูง 2 ชั้นไม่เต็มพิกัด
การติดตั้งระบบไฟฟ้าเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง การปฏิบัติตามมาตรฐานและข้อกำหนดต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าระบบไฟฟ้ามีความปลอดภัยและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่ต่างกับการใช้ตู้ไฟและรางไฟ ที่ต้องใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เพื่อให้การติดตั้งระบบไฟฟ้ามีความปลอดภัย และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
KJL ผู้นำนวัตกรรมตู้ไฟ รางไฟ ที่ช่างไฟเชื่อมั่น ด้วยเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่
LINE Official Account: @KJL.connect หรือคลิก https://lin.ee/lzVhFfo
Facebook: facebook.com/KJLElectric