เครื่องป้องกันกระแสเกิน และมาตรฐานการติดตั้ง

2024 - 08 - 15

ในชีวิตประจำวันของเรา ล้อมรอบไปด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้ามากมาย ตั้งแต่หลอดไฟขนาดเล็กไปจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ การทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้ล้วนอาศัยกระแสไฟฟ้าเป็นพลังงาน หากกระแสไฟฟ้าไหลมากเกินไป หรือเกิดความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า อาจนำไปสู่ความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า หรือแม้แต่เกิดไฟไหม้ได้

เครื่องป้องกันกระแสเกินเปรียบเสมือน "รปภ." ของระบบไฟฟ้า ทำหน้าที่คอยตรวจสอบและควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านวงจร หากพบว่ากระแสไฟฟ้ามีค่าเกินกว่าที่กำหนดไว้ อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินจะทำการตัดวงจรไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับเครื่องป้องกันกระแสเกิน ตั้งแต่ประเภทของอุปกรณ์ ไปจนถึงความมาตรฐานการติดตั้ง

 

เครื่องป้องกันกระแสเกิน คือ

อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน หรือเรียกอีกอย่างว่า อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน ซึ่งอาจเป็นฟิวส์ หรือเซอร์กิดเบรกเกอร์ก็ได้ตามความต้องการ แต่ที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทยคือเซอร์กิตเบรกเกอร์

1. ฟิวส์แรงต่ำ

อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินที่เมื่อทำงานปลดวงจรแล้ว จะไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ต้องเปลี่ยนใหม่ หลักการทำงานคือ เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านฟิวส์มากเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ ลวดโลหะจะร้อนขึ้นจนหลอมเหลวขาดออกจากกัน ทำให้วงจรไฟฟ้าขาดและหยุดการทำงานทันที เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ในวงจร

 

2. เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงต่ำ

เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยกำหนดให้ใช้ จะเป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ผลิตมาตรฐาน IEC ซึ่งแบ่งเซอร์กิดเบรกเกอร์ตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 2 กลุ่ม คือมาตรฐาน IEC 60898 และ IEC 60947-2 หลักการทำงานคือ เมื่อกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเซอร์กิตเบรกเกอร์เกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ หรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจร กลไกภายในของเซอร์กิตเบรกเกอร์จะทำงาน ทำให้วงจรไฟฟ้าขาดและหยุดการทำงานทันที แต่สามารถรีเซตเพื่อใช้งานต่อได้

 

การป้องกันกระแสเกินตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ

  • การป้องกันกระแสเกินสำหรับวงจรย่อยและสายป้อน

วงจรย่อยและสายป้อนต้องมีการป้องกันกระแสเกิน อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินควรอยู่ใกล้จุดรับไฟให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งอาจเป็นพิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ก็ได้ที่มีพิกัดเหมาะสม และมีรายละเอียดดังนี้

1. เครื่องป้องกันกระแสเกินต้องสามารถป้องกันตัวนำทุกสายเส้นไฟ และห้ามติดตั้งในสายศูนย์หรือนิวทรัล ยกเว้น อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินนั้นสามารถตัดวงจรทุกเส้นรวมทั้งสายศูนย์ได้พร้อมกัน และห้ามติดดังในสายดิน

2. เครื่องป้องกันกระแสเกิน ต้องไม่ติดตั้งในสถานที่ซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย และต้องไม่อยู่ใกล้กับวัสดุที่ติดไฟง่าย

3. เครื่องป้องกันกระแสเกิน ต้องบรรจุไว้ในกล่องหรือตู้อย่างมิดชิด แต่ด้ามสับของเซอร์กิตเบรกเกอร์ ยอมให้โผล่ออกมาข้างนอกได้

กรณีติดตั้งไว้ที่แผงสวิตช์หรือแผงควบคุม ซึ่งอยู่ในห้องที่ไม่มีวัสดุติดไฟง่ายและไม่มีความชื้น หรือเป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินสำหรับบ้านอยู่อาศัยขนาดไม่เกิน 16 แอมแปร์ 1 เฟส ไม่ต้องบรรจุไว้ในกล่องหรือตู้ก็ได้

4. อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินต้องติดตั้งในที่ซึ่งสามารถปฏิบัติงานได้สะดวก มีที่ว่างและแสงสว่างอย่างพอเพียง บริเวณหน้าแผงต้องมีที่ว่างเพื่อปฏิบัติงาน

5. การต่อแยกสายป้อนต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินที่จุดต่อแยกด้วย

 

  • การป้องกันกระแสเกินสำหรับเมนสวิตช์แรงต่ำ

เมนสวิตช์ประกอบด้วยเครื่องปลดวงจรและเครื่องป้องกันกระแสเกินซึ่งอาจประกอบเป็นตัวเดียวกันก็ได้เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ กรณีใช้เป็นสวิตช์ (เช่นเซฟตีสวิตช์) จะต้องใช้งานร่วมกับฟิวส์ แต่ละสายเส้นไฟที่ต่อออกจากเครื่องปลดวงจรของเมนสวิตช์ ต้องมีเครื่องป้องกันกระแสเกิน

1. พิกัดสูงสุดของอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินเป็นไปตามตารางที่ 1 และ 2 และห้ามติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสเกินในสายนิวทรัล นอกจากจะใช้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินที่เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์ซึ่งตัดวงจรทุกสายของวงจรออกพร้อมกันเมื่อกระแสไหลเกิน

2. เครื่องปลดวงจรต้องสามารถปลดวงจรทุกสายเส้นไฟ (สายเฟส) ได้พร้อมกัน และต้องมีเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่าอยู่ในตำแหน่งปลดหรือสับ หรือตำแหน่งที่ปลดหรือสับนั้นสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน

3. อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินต้องสามารถตัดกระแสลัดวงจรค่ามากที่สุดที่อาจเกิดขึ้นที่จุดต่อไฟด้านไฟออกของเครื่องป้องกันกระแสเกินได้ เมนสวิดซ์แรงต่ำ ที่มีขนาดตั้งแต่ 1,000 A ขึ้นไปต้องติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสรั่วลงดิน (Ground Fault Protection) ด้วย

4. การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าทางด้านไฟเข้าของเครื่องป้องกันกระแสเกิน ทำได้ให้เฉพาะวงจรของระบบฉุกเฉินต่าง ๆ เช่น เครื่องแจ้งเหตุเพลิงไหม้, ระบบสัญญาณป้องกันอันตราย, เครื่องสูบน้ำดับเพลิง, นาฬิกา, เครื่องป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า (SPD,) คาปาซิเตอร์, เครื่องวัดฯ และวงจรควบคุม เท่านั้น

5. เครื่องปลดวงจรต้องติดตั้งในที่ซึ่งสามารถปฏิบัติงานได้สะดวก มีที่ว่างและแสงสว่างอย่างพอเพียง บริเวณหน้าแผงต้องมีที่ว่างเพื่อปฏิบัติงาน

 

ตารางที่ 1 พิกัดสูงสุดของเครื่องป้องกันกระแสเกินและโหลดสูงสุดตามขนาดเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแรงต่ำ (สำหรับการไฟฟ้านครหลวง)

ขนาดเครื่องวัด หน่วยไฟฟ้า (A)

พิกัดสูงสุดของเครื่องป้องกันกระแสเกิน (A)

โหลดสูงสุด (A)

5

16

10

15

50

30

30

100

75

50

125

100

200

200

150

250

200

400

300

250

400

300

500

400

*หมายเหตุ พิกัดของเครื่องป้องกันกระแสมีค่าต่ำกว่าที่กำหนดในตารางได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 1.25 เท่าของโหลดที่คำนวณได้

 

ตารางที่ 2 ขนาดของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแรงต่ำ ขนาดสายไฟฟ้า เซฟดีสวิต์ คัตเอาต์ และดาร์ทริดจ์ฟิวส์ สำหรับตัวนำประธาน (สำหรับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)

 

ขนาดเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (A)

ขนาดตัวนำประธาน

เล็กที่สุดที่ยอมให้ใช้ได้

(ตร.มม.)

บริภัณฑ์ประธาน

เซฟตีสวิตช์ หรือ

โหลดเบรกสวิตช์

คัตเอาด์ใช้ร่วมกับ

คาร์ทริดจ์ฟิวส์

เซอร์กิตเบรกเกอร์

สาย

อะลูมิเนียม

สาย

ทองแดง

ขนาดสวิตช์ต่ำสุด (A)

ขนาดฟิวส์สูงสุด

(A)

ขนาดคัตเอาต์ต่ำสุด (A)

ขนาดฟิวส์สูงสุด

(A)

ขนาดปรับตั้งสูงสุด (A)

5 (15) 1P

10

4

30

16

20

16

16

15 (45) 1P, 3P

25

10

60

50

-

-

50

30 (100) 1P, 3P

50

35

100

100

-

-

100

5 (100) 1P, 3P

10

4

30

16

20

16

16

25

10

60

50

-

-

50

50

35

100

100

-

-

100

200 3P

(ประกอบ CT แรงต่ำ)

50

35

-

-

-

-

125

70

50

-

-

-

-

160

95

70

-

-

-

-

200

*หมายเหตุ 

1) สำหรับตัวนำประธานภายในอาคารให้ใช้สายทองแดง

2) ขนาดสายในตารางนี้สำหรับวิธีการเดินสายลอยในอากาศวัสดุฉนวนภายนอกอาคาร 

3) เครื่องวัดฯ ขนาด 5 (15), 15 (45) และ 30 (100) A เป็นเครื่องวัดฯ ชนิดจานหมุน

4) เครื่องวัดฯ ขนาด 5 (100) A และ 200 ประกอบ CT แรงด่ำ เป็นเครื่องวัดฯ ชนิดอิเล็กทรอนิกส์

5) 1P หมายถึง เครื่องวัดฯ ชนิด 1 เฟส 2 สาย และ 3P หมายถึง เครื่องวัดฯ ชนิด 3 เฟส 4 สาย

6) ขนาดตัวนำประธานตามตารางยังไม่ได้พิจารณาผลจากแรงดันตก

7) ขนาดของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแรงต่ำ ขนาดสายไฟฟ้า เซฟตีสวิทซ์ คัตเอาต์ และคาร์ทริดจ์ฟิวส์สำหรับตัวน่าประธาน ให้อ้างอิงกับมาตรฐานปัจจุบันของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

 

เครื่องป้องกันกระแสเกินเป็นอุปกรณ์สำคัญที่คอยดูแลความปลอดภัยให้กับระบบไฟฟ้า ช่วยป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าจากความเสียหายและลดความเสี่ยงจากเหตุไฟไหม้ การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินที่ได้มาตรฐาน และการติดตั้งที่ถูกต้องตามมาตรฐาน จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าระบบไฟฟ้าจะทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ


และหากช่างไฟท่านใดกำลังมองหาตู้ไฟ รางไฟ ที่ได้มาตรฐาน อย่าลืมเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน เพื่อให้มั่นใจได้ในเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัย

 

KJL ผู้นำนวัตกรรมตู้ไฟ รางไฟ ที่ช่างไฟเชื่อมั่น ด้วยเทคโนโลยีการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ 

LINE Official Account: @KJL.connect หรือคลิก https://lin.ee/lzVhFfo

Facebook: facebook.com/KJLElectric